วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน


ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส

1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548    
อ่านเพิ่มเติม


การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

พัฒนาการการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/สิทธิมนุษยชนในสังคมนั้นมีมายาวนาน สถานการณ์สำคัญของสังคมไทยที่ถือว่าเป็นมิติการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ตั้งแต่ในยุคเริ่มเปิดประเทศภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง,เหตุการณ์ร.ศ.103 ที่ชนชั้นสูงบางกลุ่มเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เหตุการณ์ร.ศ. 130ที่คณะทหารหนุ่มก่อการกบฏเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง    อ่านเพิ่มเติม

สิทธิมนุษยชน

ความหมายของ"สิทธิมนุษยชน"
มีผู้ให้คำนิยาม " สิทธิมนุษยชน " ไว้หลายความหมาย เช่น

 จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อ 1 ที่ระบุไว้ว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดามีที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด1    อ่านเพิ่มเติม


ข้อตกลงระหว่างประเทศ

  คำนิยามของคำว่า  ข้อตกลงระหว่างประเทศ  กับ  สนธิสัญญา  ทั้งสองคำนี้มีความหมายคล้ายคลึงกัน  แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อแตกต่างกันอยู่   ในประเด็นข้อกฎหมายต่างๆ  ดังจะกล่าวต่อไปนี้   อ่านเพิ่มเติม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ประเทศชาติและสังคมโลก
สาระการเรียนรู้
1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4.   กฎหมายอาญา
5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ

7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ

ฐานะและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป

รัฐ

       รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ    อ่านเพิ่มเติม


คุณลักษณะของพลเมืองดี

      คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้   อ่านเพิ่มเติม


พลเมืองดี

สาระสำคัญ
1.การอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี โดยเริ่มตั้งแต่การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีต่อครอบครัวและโรงเรียนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในอนาคตต่อไป

2.คนทุกคนมีความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันไป การใช้ความสามารถในด้านที่ตนมีอยู่เพื่อกระทำความดี จะส่งผลให้ตนเองเป็นผู้มีจิตใจที่ดี เป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข     อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน 

ปัญหาทางสังคม

    ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น

ลักษณะสังคมไทย

          สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นในสังคมไทย ในแง่ของผลเสีย พบว่า กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกทุกคนในสังคมไทยต้องให้ความร่วมมือ ในการร่วมแก้ไขปัญหา